วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่ ๑.๒ การเคลือนย้ายถิ่นจากเดียนเบียนฟูสู่ นครจำปาศักดิ์

๑.๒ การอพยพเข้ามากรุงศรีสัตนาคตหุต

 

พระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้รวบรวมลาวให้เป็นบึกแผ่น
  


พระธาตุหลวง  กรุงศรีสัตนาคนหุต / เวียงจันทน์

                    หลังจากการถูกรุกรานจากประเทศจีนจึงได้อพยพเคลื่อนตัวลงมาทิศใต้มาเรื่อยๆจนได้มาตั้งบ้านเรื่อนเป็นบึกแผ่นในดินแดนล้านช้างก็เป็นช่วงพ.ศ. ๒๐๙๐ สมัยของ เจ้าไชยเชษฐาหรือเชษฐวังโส  เป็นชื่อกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของชาวลาว ผู้ซึ่งกอบกู้ให้ชาวลาวเป็นบึกแผ่น (แต่อย่างไรก็ตามนามสกุลผมนั้นไม่มาจากพระนามของพระไชยเชษฐาแต่อย่างใด )ด้วยความเก่งกล้าของพระองค์จึงได้รวมดิแดนหลายงเมืองเข้าด้วยและเปลี่ยนชื่อเป็น"กรุงศรีสัตนาคตหุต"และทรงพระนามว่า "พระไชยเชษฐาธราช"  แต่ความสงบสุขนั้นก็มีอยู่ได้ไม่นานจากการสวรรนคตของพระองค์ปี พ.ศ. ๒๑๑๔ ได้ทำให้ดินแดนนั้นเกิดความวุ่นวายไปทั่วแผ่นดินอันเนื่องมาจากการสืบทอดราชสมบัติ ช่วงนั้นเอง กรุงศรีสัตนาคตหุต ก็ได้แยกออกเป็น ล้านนา และล้านช้าง  โดยล้านนาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าช่วงปลายรัชสมัยของ พระไชยเชษฐธิราช และต่อมาล้านช้างก็เสียกรุงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเช่นกันเมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๔-๒๑๑๘ จึงได้เสียดินแดนให้กับพระเจ้าบุเรงนองไป


ตราสัญญลักษณ์อาณาจักรล้านช้าง

              หลังจากการเสียเมืองให้กับพม่าแล้วเมืองล้านช้างยังคงไม่มั่นคงหลังจากสมัยพระสุริยาวงศาสวรรนคตเมื่อ พ.ศ.๒๒๓๔ เมืองล้านช้างได้ถูกแบ่งออกเป็นสองเมืองคือ เมืองเวียงจันท์ และเมืองหลวงพระบาง ไม่ว่าจะเป็นชาติใดในโลกถ้าประชาติขาดความสามัคคีในชาติแล้วก็ล้วนมีจุดจบเช่นกัน ไม่ว่า ลาว ไทย หรือประเทศอื่นเช่นกัน จากการขาดความสามัคคีนั้นเองต่อมา เมืองหลวงพระเข้ากับพม่ายกทัพมาตีเมือง เวียงจันท์ ทำให้อาณาจักรเวียงจันท์ ล้มสะลายตัวลงเป็นดินแดนของไทย ***ต่อมากลุ่มนามสกุลผมเองได้อพยพจากเวียงจันท์เพื่อหลบหลีกภัยสงครามได้โดยมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือ พระครูโพนเสม็ด หรือโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) พร้อมด้วยบุตรของพระสุริยาวงศาในปี พ.ศ.๒๓๑๓ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ชาวบ้านได้พาพรรคพวกอพยพจำนวนคน ๓,๐๐๐ คน จากล้านช้าง(เวียงจันท์) ลงมาทางใต้เรื่อยๆจนมาถึงดินแดนของกัมพูชา อยู่ที่ตำบล จะโรยจังวาเปลียนชื่อมาเป็นบ้านแหลม นครพนมเปญ

แผนที่เมืองโบราณ
               จากการเก็บส่วนจำนวนมากของพระเจ้ากัมพูชาโดยเก็บมากถึง ครอบครัวละ ๘ บาทจึงได้ทำให้เกิดการอพยพอีกครั้งหนึ่งหาไปหาดินแดนที่ใหม่ลัดเลาะตามแม่น้ำโขงขึ้นมา จึงได้ตั้งบ้านเรื่อนที่ เกาะหาดเกาะทรายเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๔ (ปัจจุบันเป็นนครจำปาศักดิ์) มีต่อตอนหน้า

ที่กล่าวมาคือการอธิบายเส้นทางการอพยพและบุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์ลาวและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ทำการอพยพมาอยู่ที่ นครจำปาศักดิ์และนามสกุล "ไชยเชษฐ์" จะเกิดขึ้นหรือก่อกำเนิดเมื่อใดโปรดติดตามต่อหน้านะครับ..
ที่มา: ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์
เรียเรียงโดย คอยท่า ปราโมช, ม.จ, 2399-2483

2 ความคิดเห็น:

  1. ครับพี่ผมกำลังทำประวัติของตะรูลไชยเชษยฐ์ ครับทางพี่น้องได้จัดงานทุกปีขึ้นมาครับ
    ญาติทุกคนมารวมกัน ทุกวันที่31ธันวาคมครับ

    ตอบลบ
  2. ผมอยากได้ประวัติปัจจุบันครับ

    ตอบลบ