ประวัติที่มาของตระกูลไชยเชษฐ์
![]() |
ลักษณะการแต่งการของหญิงเผ่าภูไท ที่มา:http://guideguru.in.th/node/34 |
ประเทศลาวถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับไทย มีวัฒนธรรมไม่แตกต่างกันนัก เนื่องจากเคยอาศัยพื้นที่เดียวกันมาแต่โบราณ โดยอพยพมาจากจีน เมื่อตอนอยู่อาณาจักรอ้ายลาวเมื่อประมาณ พ.ศ. ๖๑๒ ก็ได้นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาก่อน เมื่อถูกจีนรุกราน จึงได้อพยพมาอยู่ในเมืองล้านช้างประมาณ พ.ศ.๑๒๙๐ ก็กลับมานับถือผีสางเทวดาดังเดิม โดยนามสกุลของผมนั้นเป็นเชื้อสายของเผ่า ภูไท ที่ได้ทำการอพยพมาจากดินแดนล้านช้างเช่นกัน อย่างอื่นเราควรทราบว่าลักษณะของคนภูไทนั้นมีกี่ประเภท การแบ่งชาวผู้ไทออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะการแต่งกายและบริเวณที่ตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ “กลุ่มผู้ไทขาว” กลุ่มผู้ไทดำและผู้ไทแดง กลุ่มผู้ไทขาวตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนามต่อพรมแดนของประเทศจีน ได้แก่ เมืองไล เมืองบาง เมืองมุน เมืองเจียน มีการใช้ธรรมเนียมต่างๆ อย่างชาวจีน
![]() |
การแต่งการของสาวภูไท ที่มา:http://phuthaiwaritchaphum.blogspot.com/ |
ส่วนผู้ไทในภาคอีสานจัดเป็น “ผู้ไทดำ” อยู่บริเวณเมืองแถง เมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองชา มีผิวพรรณคล้ายผู้ไทขาวแต่คล้ำกว่าเล็กน้อย นิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามเข้ม และอาศัยแม่น้ำดำเป็นแหล่งทำมาหากิน สังเกตได้จากลักษณะธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติเป็นเกณฑ์หลัก เช่น การแต่งกาย พิธีศพ ทั้งสองกลุ่มใช้ภาษาพูดแบบเดียวกัน (นพดล ตั้งสกุล, 2548: 12 ; สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ณรงค์ อุปัญญ์, 2538:18) การอพยพของชาวผู้ไทยเป็นจำนวนมากจากเมืองนาน้อยอ้อยหนู (ห่างจากเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูไปทางตะวันออกประมาณ 40 ก.ม.) พระโพธิวงศาจารย์ (ติสโส อ้วน) กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย สาเหตุของการอพยพเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก “บังเกิดการอัตคัดอดอย่าง” สอง เกิดจากความขัดแย้งระหว่างท้าวก่าหัวหน้าของชาวผู้ไทกับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (ต้นฉบับเรียกเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพาชาวผู้ไทชายหญิงประมาณหมื่นคนมาขอขึ้นกับเจ้าอนุรุทกุมาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุรุทกุมารจึงให้ชาวผู้ไทไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง ซึ่งเป็นป่าเขา ไม่ค่อยมีที่ราบ เป็นที่อยู่ของพวกข่า ไม่มีใครปกครอง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะถิ่นที่อยู่และที่ทำกินเดิมของชาวผู้ไท (สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ณรงค์ อุปัญญ์, 2538:20-21)
นี้คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางจาก เดียนเบียนฟู(ทุ่งนาน้องอ้อยหนู) สู่ดินแดน หนองหารหลวง ดินแดนขอมโบราณ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับนามสกุล "ไชยเชษฐ์" โปรดติดตามตอนหน้านะครับ
นี้คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางจาก เดียนเบียนฟู(ทุ่งนาน้องอ้อยหนู) สู่ดินแดน หนองหารหลวง ดินแดนขอมโบราณ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับนามสกุล "ไชยเชษฐ์" โปรดติดตามตอนหน้านะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น